จากตารางข้างล่าง ให้แต่ละกลุ่มหาเหตุการณ์ในช่อง 2 และ 4 มาอย่างละ 1 เหตุการณ์ ตอบพร้อมแสดงความคิดเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ในความคิดของ “กลุ่ม” คุณ

Deadline: 25 March 2025

Categories:

Tags:

5 Responses

  1. 1. การเผยแพร่ข้อมูลความจริงที่อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
    ในประเทศไทย การเผยแพร่ข้อมูลที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล อาจผิดกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อมีการหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ของประมวลกฎหมายอาญา หรือการละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ยกตัวอย่างเช่น การแอบติดเครื่องดักฟังหรือกล้องแอบถ่ายไว้เพื่อทำการจับการกระทำที่ไม่เหมาะสม หรือข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเป็นการหมิ่นประมาทหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้กระทำผิดถูกฟ้องร้องและต้องรับโทษตามกฎหมาย ดังนั้นการกระทำดังกล่าวแม้ว่าสังคมจะมองเป็นเรื่องที่ถูกจรรยาบรรณเนื่องจากผู้กระทำผิดควรจะต้องได้รับการเปิดโปง แต่การเปิดโปงด้วยข้อมูลที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องนั้นก็อาจเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย
    1.1 ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มของพวกเรามองว่าการกระทำดังกล่าวให้ผลดีมากกว่าผลร้ายหากการเปิดโปงการกระทำความผิดของผู้อื่นแม้จะได้มาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่หากทำให้สังคมรับรู้ และสามารถระมัดระวังภัยจากการกระทำที่ผิดนั้นได้ ก็สมควรได้รับการยกเว้น ดังนั้นกลุ่มของเราจึงมองการกระทำนี้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

    2. การนอกใจคนรักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
    บุคคลทั่วไปมักมองว่าการกระทำผิดในความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ผิดจรรยาบรรณ ผิดศึลธรรมอันดี และผิดขนบธรรมเนียมของสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่มีใครสามารถยอมรับการกระทำ เช่น การคบซ้อน การนอกใจแฟน และการมีชู้ได้ เพียงแต่ในทางกฏหมายนั้น หากผู้ที่กระทำผิดในความสัมพันธ์ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฏหมาย การกระทำดังกล่าวก็ไม่ได้ผิดกฏหมายแต่อย่างใด ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดผู้นั้น หรือทำการฟ้องร้องได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในประเทศไทยจะรับรองสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่จดทะเบียนสมรสเท่านั้น ดังนั้นการนอกใจคนรักจึงเป็นสิ่งที่ผิดจรรยาบรรณ แต่ไม่ผิดกฏหมาย
    2.1 ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มของพวกเรามองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้จะไม่ได้ผิดจากหลักกฏหมาย แต่การกระทำนี้ส่งผลเสียโดยตรงกับบุคคลที่ได้รับผลกระทบในความสัมพันธ์ อาจทำให้เสียความรู้สึก หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากการกระทำผิดในความสัมพันธ์ได้ ดังนั้นกลุ่มของเราจึงมองการกระทำนี้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

  2. 1) 2 (Ethical and Illegal): การฝ่าไฟแดงเมื่อต้องพาผู้ป่วยอุบัติเหตุไปโรงพยาบาลโดยไม่มีรถพยาบาลรองรับ
    ความเห็น: การฝ่าไฟแดงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน และไม่มีรถพยาบาลมาช่วยเหลือ การตัดสินใจฝ่าไฟแดงเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีถือเป็นสิ่งที่มีจริยธรรม แม้ว่าอาจจะขัดต่อกฎหมายจราจรก็ตาม มองว่าเป็นสิ่งถูกต้องไม่ได้ร้ายแรงเกินกว่าที่จะยอมรับได้

    2) 4 (Unethical and Legal): การขึ้นราคาสินค้าจำเป็นในช่วงภัยพิบัติ
    ความเห็น: การขึ้นราคาสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร น้ำดื่ม หรือเวชภัณฑ์ ในช่วงภัยพิบัติ อาจไม่ผิดกฎหมายหากไม่มีการกำหนดเพดานราคาโดยภาครัฐ แต่เป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรม เพราะเป็นการฉวยโอกาสแสวงหากำไรจากความเดือดร้อนของผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ขาดแคลนเงินทุนไม่สามารถเข้าถึงสิ่งจำเป็นได้ มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ไม่ควรที่จะฉวยโอกาสและเอาเปรียบผู้บริโภคในสถานการณ์วิกฤติ

  3. เหตุการณ์ช่อง 2
    การให้ผู้ลี้ภัย ลักลอบเข้าเมือง เพื่อหนีภัย หรือทำการลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหรือกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศเพื่อนบ้าน – มีกลุ่มคนและองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยที่เข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งในแง่มุมของกฎหมายคนเหล่านี้ถือเป็น “ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย” แต่ในทางจริยธรรมการช่วยเหลือผู้ที่หนีภัยสงครามหรือการประหัตประหารถือเป็นการกระทำเพื่อมนุษยธรรม

    เหตุการณ์ช่อง 4
    การเลือกตั้งสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งวาระ 2568
    โดยหัวหน้าพรรคลงสมัครสโมสรนักศึกษาที่เป็นชนะการเลือกตั้งนั้น แคนดิเดตนายกสโสรนักศึกษา เป็นประธานสภานักศึกษาวาระ 2567 โดยเป็นผู้รับรองการออกประกาศคณะกรรมการเลือกตั้งองค์กรนักศึกษา และเป็นผู้ที่ทำการรับรอง กกต.ในการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษาวาระ 2568 โดยไม่มีข้อกำหนดว่าผู้ที่มีส่วนกับการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็น กกต. ไม่มีสิทธิ์ลงรับสมัครเลือกตั้ง
    สรุปจากความคิดเห็นเหตุการณ์ที่ 4 แคนดิเดตนายกสโมสรนักศึกษาที่เป็นผู้ชนะ แม้จะเคยมีบทบาทสำคัญในการรับรอง กกต. แต่หากไม่มีข้อบังคับห้าม ก็สามารถลงสมัครได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบว่ากระบวนการเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นธรรมเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กรนักศึกษาและมหาวิทยาลัย

  4. 1) Ethical and Illegal
    ตัวอย่างเหตุการณ์: ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพื่อเก็บของป่าและล่าสัตว์ป่าขนาดเล็กเพื่อยังชีพ เนื่องจากไม่มีที่ทำกินและกำลังเผชิญกับความอดอยาก
    ความเห็น: การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ชาวบ้านไม่มีทางเลือกในการดำรงชีพ และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศในระดับที่รุนแรง การกระทำนี้อาจถือว่ามีจริยธรรมในเชิงของความอยู่รอด มองว่าเป็นสถานการณ์ที่ภาครัฐควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือ เช่น การจัดสรรพื้นที่ทำกิน หรือส่งเสริมอาชีพที่ยั่งยืนแทนการใช้มาตรการลงโทษอย่างเดียว

    2) Unethical and Legal
    ตัวอย่างเหตุการณ์: บริษัทข้ามชาติย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่ำ เพื่อใช้แรงงานราคาถูกและหลีกเลี่ยงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
    ความเห็น: การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีกฎหมายแรงงานและสิ่งแวดล้อมที่หละหลวมอาจไม่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นการดำเนินธุรกิจตามกรอบกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม เป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรม เนื่องจากอาจนำไปสู่การกดขี่แรงงาน ค่าแรงต่ำ และการทำลายสิ่งแวดล้อม มองว่าเป็นแนวทางที่ไม่ยั่งยืนและควรมีมาตรการกดดันให้บริษัทเหล่านี้รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

  5. 1.Legal & Ethical
    ตัวอย่างเหตุการณ์: บริษัทจดทะเบียนอย่างถูกต้องและจ่ายภาษีตามกฎหมายครบถ้วน รวมถึงให้สวัสดิการที่ดีแก่พนักงาน เช่น ประกันสุขภาพ วันหยุดลาพักร้อน และมีระบบร้องเรียนที่โปร่งใส
    เหตุผล: เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่ทั้งถูกต้องตามกฎหมาย และยังแสดงถึงความรับผิดชอบทางจริยธรรม เช่น ความเป็นธรรมต่อพนักงาน การปฏิบัติตามหน้าที่ของพลเมืองในฐานะองค์กร ซึ่งกลุ่มเราถือว่าเป็น “สิ่งที่ควรทำ” หรือเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่ดี

    2.Illegal & Ethical
    ตัวอย่างเหตุการณ์: ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลพาผู้ป่วยฉุกเฉินข้ามแดนโดยไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและมีอุปกรณ์เพียงพอ
    เหตุผล: แม้การกระทำดังกล่าวจะผิดกฎหมายในแง่ของการเคลื่อนย้ายบุคคลข้ามเขตแดนโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในมุมมองของจริยธรรม กลุ่มเรามองว่าเป็นการกระทำที่มีมนุษยธรรม เพราะเน้นการช่วยเหลือชีวิตผู้อื่น เป็น “สิ่งที่ดี” ในระดับจริยธรรม แม้กฎหมายจะยังไม่ยอมรับ

    3.Illegal & Unethical
    ตัวอย่างเหตุการณ์: เจ้าของบริษัทจัดซื้อจัดจ้างจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้สัญญารับเหมาก่อสร้าง
    เหตุผล: การให้สินบนถือเป็นการทำลายความโปร่งใสในระบบราชการ ผิดกฎหมาย และยังส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง กลุ่มเรามองว่าเป็นพฤติกรรมที่ควรประณามอย่างยิ่ง เพราะไม่มีทั้งความถูกต้องตามกฎหมายและคุณธรรม

    4.Legal but Unethical
    ตัวอย่างเหตุการณ์: บริษัทข้ามชาติย้ายฐานการผลิตไปประเทศกำลังพัฒนา เพื่อใช้แรงงานเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี ซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นอาจอนุญาต แต่จ่ายค่าแรงต่ำมากและสภาพแวดล้อมในการทำงานอันตราย
    เหตุผล: แม้จะไม่ผิดกฎหมายในประเทศที่เกิดเหตุการณ์ แต่ถือว่าขัดกับจริยธรรมสากลและหลักสิทธิมนุษยชน กลุ่มเรามองว่าการเอาเปรียบแรงงานเด็กแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมควร แม้จะทำให้ต้นทุนลดลงและธุรกิจได้กำไร

Leave a Reply