จากคลิปเรื่อง “Inside the fight against Russia’s fake news” ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มตอบคำถามดังต่อไปนี้

  • สรุปเนื้อหาของคลิปดังกล่าวพร้อมข้อแนะนำที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกัน Fake News
  • ความคิดเห็นของกลุ่มคุณที่มีต่อ Fake News ว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณหรือไม่
  • ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะข่าวสารที่มาจาก Social Network

Deadline: 18 March 2025

Categories:

Tags:

5 Responses

  1. จากคลิปเรื่อง “Inside the fight against Russia’s fake news”
    ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มตอบคําถามดังต่อไปนี้
    • สรุปเนื้อหาของคลิปดังกล่าวพร้อมข้อแนะนําที่ใช้ในการ ตรวจสอบและป้องกัน Fake News
    • ความคิดเห็นของกลุ่มคุณที่มีต่อ Fake News ว่ามีผลกระ ทบต่อชีวิตประจําวันของคุณหรือไม่
    • ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ข่าวสารที่มาจาก Social Network

    ข่าวลวงเปรียบเสมือนอาวุธที่ทรงพลังในการทำสงครามด้านข้อมูล ผู้สร้างต้องการใช้มันในการปลุกปั่น
    ผู้คนอ่านข่าวแต่ไม่ทราบเสมอไปว่าจริงหรือเท็จ และเมื่อเลือกตัดสินใจเชื่อเรื่องเท็จ การตัดสินใจนั้นจะเป็นการตัดสินใจที่ผิด ส่งผลต่อความเชื่อและการกระทำ อาทิ การเลือกตั้ง ข่าวลวงเป็นภัยต่อประชาธิปไตยและสังคม วิธีการแยกข่าวจริงหรือเท็จ ให้สังเกตเนื้อหาที่ดูเกินจริง สะเทือนอารมณ์ หลอกล่อให้กดเพื่อเข้าชม เพราะมันถูกสร้างมาเพื่อปลุกปั่นให้หลงเชื่อ ถัดไปคือตรวจสอบแหล่งข่าวอื่น ข้อเสนอ ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ข้อมูลอ้างอิง ซึ่งต้องพึ่งความเชื่อใจในสถาบัน
    Fake News ส่งผลต่อความเชื่อซึ่งมีผลต่อการกระทำที่เราปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อาทิ การเลือกบริโภคสินค้าที่ไม่ถูกข่าวลวงลดทอนความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ การเตรียมตัว ที่ไม่จำเป็นจากความหวาดระแวง ความวิตกกังวลจากข่าวลวงเรื่องโรคระบาด ภัยพิบัติต่างๆ ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญ
    ในปัจจุบันที่ข่าวสารเกิดขึ้นและถูกแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวอย่างระมัดระวัง คือควรหลีกเลี่ยงการแชร์ข่าวโดยไม่ตรวจสอบ เนื่องด้วยการแชร์ข่าวปลอมอาจส่งผลกระทบต่อสังคมที่ไม่สามารถคาดเดาได้และการตรวจสอบวันที่และเวลา ในบางครั้งข่าวอาจมีการอัปเดตหรืออ้างอิงเหตุการณ์ในอดีตที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควรตรวจสอบวันที่และเวลาของข่าวสารเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

  2. 1. สรุปเนื้อหาของคลิปดังกล่าวพร้อมข้อแนะนำที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกัน Fake News
    ตอบ ข่าวปลอมเป็นปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและประชาธิปไตย เพราะมันทำให้ผู้คนเชื่อในข้อมูลที่ผิดพลาดและตัดสินใจโดยไม่มีข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง รัสเซียเป็นตัวอย่างของการใช้ข่าวปลอมเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ โดยบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับยูเครนเพื่อสร้างความเข้าใจผิดในระดับสากล เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ กลุ่มนักข่าวได้ก่อตั้งเว็บไซต์ “Stop Fake” เพื่อตรวจสอบและเปิดโปงข่าวปลอม โดยใช้หลักฐานที่ตรวจสอบได้ ปัจจุบัน เว็บไซต์นี้ช่วยให้ผู้คนจำนวนมากเรียนรู้วิธีแยกแยะความจริงจากเรื่องเท็จ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการบิดเบือนข้อมูล ในยุคที่ข่าวปลอมแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทุกคนควรมีสติ ตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่ง และไม่แชร์ข่าวที่อาจไม่เป็นความจริง เพราะความน่าเชื่อถือของสังคมขึ้นอยู่กับความไว้วางใจ และการแพร่กระจายข่าวปลอมจะยิ่งทำลายความไว้วางใจนั้นลงไป

    2. ความคิดเห็นของกลุ่มคุณที่มีต่อ Fake News ว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณหรือไม่
    ตอบ กลุ่มของเรามองว่าข่าวปลอม (Fake News) มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก เพราะมันทำให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความหวาดกลัว และอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ หรือสุขภาพ ข่าวปลอมสามารถทำให้ผู้คนเชื่อข้อมูลที่บิดเบือน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และทำลายความไว้วางใจต่อสื่อและสถาบันต่าง ๆ นอกจากนี้ ในยุคโซเชียลมีเดียที่ทุกคนสามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ข่าวปลอมสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและสร้างผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น จึงเห็นว่าการตรวจสอบข้อมูลก่อนเชื่อหรือแชร์เป็นสิ่งสำคัญ และทุกคนควรมีทักษะในการแยกแยะข่าวจริงจากข่าวปลอม เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและชีวิตประจำวันของเราเอง

    3. ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะข่าวสารที่มาจาก Social Network
    ตอบ ในปัจจุบัน การเสพข่าวสารจาก Social Network ต้องทำอย่างรอบคอบเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม (Fake News) ดังแนวทางดังต่อไปนี้
    3.1) ตรวจสอบแหล่งที่มา: อย่าเชื่อข่าวทันที ควรตรวจสอบว่าข่าวมาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือหรือไม่ และดูว่ามีสื่อหลักอื่น ๆ รายงานข่าวเดียวกันหรือไม่
    3.2) อย่าเชื่อพาดหัวที่ดูเกินจริง: ข่าวปลอมมักใช้พาดหัวที่ดึงดูดอารมณ์ เช่น น่าตกใจหรือเร่งด่วน ควรอ่านเนื้อหาก่อนแชร์
    3.3) ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม: หากเจอข่าวที่น่าสงสัย ลองใช้ Google หรือเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวปลอม เช่น Stop Fake หรือ AFP Fact Check เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
    3.4) ระวังภาพและวิดีโอที่ถูกบิดเบือน: บางครั้งข่าวปลอมใช้ภาพเก่าหรือดัดแปลงวิดีโอ ควรใช้เครื่องมืออย่าง Google Reverse Image Search เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพ
    3.5) อย่าแชร์ข่าวโดยไม่ตรวจสอบ: การแชร์ข่าวปลอมโดยไม่ตั้งใจอาจทำให้ข้อมูลผิดแพร่กระจายไปมากขึ้น สร้างความเข้าใจผิดในสังคม
    3.6) ติดตามแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ: ควรเลือกติดตามสำนักข่าวที่ได้รับการยอมรับและมีมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูล
    3.7) ใช้สติและวิจารณญาณ: ข่าวสารในปัจจุบันมักมีทั้งข้อเท็จจริงและความคิดเห็นแฝงอยู่ ควรใช้วิจารณญาณในการแยกแยะและพิจารณาข้อมูลก่อนจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้น

  3. ข้อที่ 1 สรุปเนื้อหาของคลิปดังกล่าวพร้อมข้อแนะนําที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกัน Fake News
    – Olga Yurkova เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ StopFake.org ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอม โดยเฉพาะข่าวปลอมที่มาจากรัสเซียซึ่งมีเป้าหมายบิดเบือนข้อมูล สร้างความสับสน และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในยูเครน ประเด็นสำคัญในคลิป รัสเซียใช้ Fake News เป็นเครื่องมือทางสงครามในการบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของประชาชน, ข่าวปลอมมักมาในรูปแบบของสื่อที่ดูน่าเชื่อถือ เช่น ข่าวจากเว็บไซต์ปลอม คลิปวิดีโอ หรือแม้กระทั่งภาพถ่ายที่ตัดต่อ,
    ทีมงาน StopFake ใช้กระบวนการตรวจสอบ เช่น การย้อนแหล่งข่าว (source tracing), การตรวจสอบภาพด้วยเครื่องมือ reverse image search และการเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายแหล่ง
    – ข้อแนะนำในการตรวจสอบและป้องกัน Fake News
    1. ตรวจสอบแหล่งข่าว — เช็กว่าเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นสื่อที่มีชื่อเสียงหรือเปล่า
    2. อ่านเกินพาดหัวข่าว — อย่ายึดเพียงแค่พาดหัว ให้พิจารณาข้อความทั้งหมด
    3. ดูวันที่เผยแพร่ — ข่าวเก่าที่ถูกแชร์ซ้ำ อาจไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
    4. ตรวจสอบผู้เขียนหรือแหล่งข้อมูล — มีชื่อผู้เขียนไหม? มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่?

    ข้อที่ 2 ความคิดเห็นของกลุ่มคุณที่มีต่อ Fake News ว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของคุณหรือไม่
    – กลุ่มเรามองว่า Fake News มีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจว่าอะไรคือความจริงส่งผลต่อความคิดเห็นและความเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ หรือสุขภาพ (เช่น ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีน), ทำให้เกิดความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาด หรือเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ , สร้างความแตกแยกในสังคม เพราะบางข่าวถูกสร้างมาเพื่อยั่วยุหรือแบ่งฝักแบ่งฝ่าย

    ข้อที่ 3 ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะข่าวสารที่มาจาก Social Network
    1. อย่าเชื่อทันที — ข่าวที่แชร์มาในโซเชียลมีเดียไม่ผ่านการตรวจสอบเหมือนสื่อหลัก ต้องตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน
    2. เช็กแหล่งข้อมูล — หากเห็นข่าวที่น่าสงสัย ควรค้นหาจากแหล่งข่าวอื่น ๆ เพื่อยืนยัน
    3. ติดตามสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ — เลือกติดตามเพจหรือเว็บไซต์ข่าวที่มีมาตรฐาน มีทีมบรรณาธิการชัดเจน
    4. ไม่แชร์ต่อหากไม่มั่นใจ — ช่วยหยุดวงจร Fake News โดยไม่แชร์ต่อถ้ายังไม่ได้ตรวจสอบ
    5. อัพเดทความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบข่าว — เช่น การใช้ Google Reverse Image Search, Fact-checking websites
    6. รู้เท่าทันอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดีย — โซเชียลมีเดียมักแสดงข่าวที่สอดคล้องกับความเชื่อของเรา (Echo Chamber) จึงต้องระวังไม่ให้ความเห็นตัวเองถูกบิดเบือนจากข้อมูลผิด ๆ

  4. 1.) วิดีโอมีเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวเท็จ ข่าวลวง ระบุว่าข่าวลวงหรือ fake news ในตัวอย่างเป็นการที่รัสเซียใช้ข่าวลวง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้ายึดไครเมียของยูเครน โดยนับตั้งแต่นั้นถึงปัจจุบัน เฟคนิวส์นั้นไม่จำกัด เฉพาะรัสเซี่ย แต่กระจายออยู่ทั่วไป ในหลาย ๆ เรื่อง จึงทำให้ปัจจุบัน Fake news เป็นหนึ่งในอาวุธที่สามารถใช้ทำสงครามทางข้อมูล รวมถึงปลุกระดม ความคิดความเชื่อ ไปในแนวทางหนึ่ง ๆ เพื่อป้องกันเหตุนั้น ผ้พูด และกลุ่มนักข่าวจัดทำเว็ปไซต์ stop fakes เป็นเว็ปไซต์ที่จะช่วยยืนยันว่าข่าวไหนจริงไม่จริง และทางผู้พูดได้กล่าวว่า มูลเหตุของข่าวลวงอาจมีสาเหตุมาจากการจงใจเผยแพร่ข่าวเท็จเพื่อโจมตี หรือหลอกหลวง ข้อแนะนำในการใช้ตรวจสอบคือ ถ้าข่าวนั้นหรือเว็ปไซต์ที่ดูน่าสนใจจนเกินไป ดูเกินจริง ก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะเป็นข่าวที่ไม่จริง

    2.) ในความคิดเห็นของทางกลุ่มเราคิดว่า ข่าวปลอม (Fake News) มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ แม้เราอาจไม่รู้สึกถึงผลกระทบโดยตรงทุกวัน
    ข่าวปลอมส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น
    – ทำให้ยากต่อการแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องใช้เวลาตรวจสอบข้อเท็จจริงมากขึ้น
    – สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเด็นสำคัญทางสังคม การเมือง และสุขภาพ
    – อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น เรื่องสุขภาพหรือการลงทุน
    – ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม เมื่อกลุ่มคนต่างๆ เชื่อข้อมูลที่ขัดแย้งกัน

    3.) ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะจาก Social Network
    1.ตรวจสอบแหล่งที่มา ควรเช็กว่าแหล่งข่าวมาจากสื่อที่น่าเชื่อถือหรือไม่ หลีกเลี่ยงข่าวที่ไม่มีที่มาชัดเจน หรือแหล่งข่าวที่เคยเผยแพร่ข้อมูลเท็จมาก่อน
    2.พิจารณาเนื้อหาอย่างมีวิจารณญาณ หากข่าวมีเนื้อหาที่ดูเกินจริง หรือพยายามกระตุ้นอารมณ์มากเกินไป เช่น สร้างความหวาดกลัวหรือโกรธแค้น ควรตั้งข้อสงสัยก่อนเชื่อ
    3.ตรวจสอบจากหลายแหล่ง ก่อนจะเชื่อหรือแชร์ข่าวใด ๆ ควรหาข้อมูลจากหลายแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้อง
    4.หลีกเลี่ยงการแชร์ข่าวโดยไม่ตรวจสอบ การแชร์ข่าวปลอมอาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดกระจายไปในวงกว้างและสร้างความเสียหายต่อสังคม
    5.ตรวจสอบวันที่และเวลา บางครั้งข่าวเก่าถูกนำกลับมาเผยแพร่อีกครั้งโดยไม่มีการอัปเดต ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน
    6.ระวังข่าวที่อ้างแหล่งข้อมูลไม่ชัดเจน ข่าวที่ไม่มีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างชัดเจน หรือใช้คำว่า “มีรายงานว่า” โดยไม่มีหลักฐานสนับสนุน มักเป็นข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ
    7.ใช้เครื่องมือช่วยตรวจสอบข่าวปลอม ปัจจุบันมีเว็บไซต์และเครื่องมือตรวจสอบข่าวปลอม เช่น Google Fact Check, AFP Fact Check และเว็บไซต์ขององค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศต่าง ๆ

  5. 1. สรุปเนื้อหาของคลิปดังกล่าวพร้อมข้อแนะนำที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกัน Fake News
    คลิป “Inside the fight against Russia’s fake news” นำเสนอโดย Olga Yurkova นักข่าวชาวรัสเซียที่ก่อตั้งเว็บไซต์ Stop Fake เพื่อต่อสู้กับข่าวปลอมที่รัสเซียเผยแพร่เกี่ยวกับยูเครน เธอเล่าถึงเหตุการณ์ปลอมที่สื่อรัสเซียสร้างขึ้น เช่น การตรึงกางเขนเด็กชายวัย 3 ขวบในยูเครน ซึ่งเป็นเรื่องโกหกที่สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของยูเครน
    จากที่ Olga กล่าวสามารถสรุปได้ว่าเฟคนิวส์มีเยอะ และหลายครั้งคนที่เห็นก็มักจะกดแชร์ทันทีโดยไม่ตรวจสอบ ทำให้ข่าวลวงกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งเนื้อหาก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกล่อให้คนเชื่อ มีการจัดตั้งแพลตฟอร์มอย่าง Stop Fake ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบความจริงของคลิปและข่าวต่างๆ แต่ด้วยปริมาณข้อมูลที่มาก การตรวจสอบทุกอย่างจึงเป็นไปได้ยาก วิธีสังเกตเบื้องต้นคือ หากคลิปหรือข่าวมีเนื้อหาที่รุนแรงเกินไป หรือใช้คำดึงดูดให้คลิกมากเกินไป ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นข่าวปลอม วิธีป้องกันคือ ควรเสิร์ชหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก่อนตัดสินใจเชื่อหรือแชร์ และเลือกใช้คำพูดให้รอบคอบเมื่อต้องส่งต่อข้อมูล

    2. ความคิดเห็นของกลุ่มคุณที่มีต่อ Fake News ว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณหรือไม่
    กลุ่มเราคิดว่า Fake News มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน เพราะอาจจะทำให้เกิดความตื่นตระหนก เช่น หากมีข่าวภัยพิบัติ อาจจะทำให้ผู้คนแตกตื่นจนแห่ไปกักตุนของกินของใช้หรืออาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น ข่าวเท็จในเรื่องของการเมือง

    3. ข้อเสนอแนะในการเสพข่าวสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะข่าวสารที่มาจาก Social Network
    1) เลือกเสพข่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ: เลือกติดตามสื่อที่มีชื่อเสียง มีมาตรฐานในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และมีความเป็นกลาง
    2) ตรวจสอบข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง: อย่าเชื่อข่าวจากแหล่งเดียว ควรเปรียบเทียบข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลาย
    3) ใช้เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง: มีเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง เช่น Stop Fake
    4) อย่าแชร์ข่าวที่ไม่แน่ใจ: หากไม่แน่ใจว่าข่าวเป็นจริงหรือไม่ อย่าแชร์ต่อ
    5) ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ: แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ Fake News และวิธีการตรวจสอบข้อมูลกับคนรอบข้าง

Leave a Reply