จากอุปกรณ์ “รับและแสดงผล” ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ไม่ได้มีแค่ Keyboard และ Mouse เท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงในตัวอย่างที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้ เช่น LeapMotion, Microsoft Kinect, Myo และ 3D Printer 

ให้แต่ละกลุ่มกลับไปลองหาแนวคิดว่าจะเอาอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ (นอกเหนือจาก 3 อันนี้ก็ได้) ไปประยุกต์ใช้ทำอะไรได้บ้าง

Deadline: 28 January 2025

Categories:

Tags:

5 Responses

  1. กลุ่มของเรามีความคิดในการนำไปประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาการศึกษาออนไลน์ให้สมจริงมากขึ้นโดยเป็นหัวข้อหลักๆดังนี้
    1.การผ่าตัดต่างๆที่ใช้ความประณีตทางสายแพทย์
    การเข้าใจร่างกายจริงๆนั้นสำคัญมากในสายงานนี้เนื่องด้วยการเรียนออนไลน์นั้นทำให้ไม่สามารถเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
    • Myo – ใช้ในการตรวจจับกล้ามเนื้อของผู้ผ่าตัดเพื่อให้สมจริงกับการลงน้ำหนักมีด หรือเครื่องมือต่างๆ
    • LeapMotion – ตรวจสอบตำแหน่งมือและแขนเพื่อให้สมจริงกับการผ่าตัดออนไลน์มากขึ้น
    • VR – จำลองสิ่งที่จะผ่าตัดเช่น อาจารย์ใหญ่
    • HeartBeat – เพื่อความสมจริงในสถานการณ์ตอนผ่าตัด เช่นตกใจแล้วมือไม่นิ่ง
    • OpenBCI – ช่วยตรวจจับกิจกรรมสมองและกล้ามเนื้อของศัลยแพทย์ เพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดระหว่างการผ่าตัด

    2.การทดลองทางวิทยาศาสตร์
    การทดลองทางเคมีที่มีสารอันตรายและด้านชีวภาพที่มีการใช้เชื้อที่เสี่ยงต่อผู้ทดลองซึ่งไม่สามารถทดลองเองที่บ้านได้
    • VR – จำลองสิ่งที่จะทดลอง
    • LeapMotion – ตรวจจับตำแหน่งมือในการทดลองเพื่อเช็คว่าทำถูกต้องไหม เช่น การเทสารเคมีให้ถูกต้องตามหลัก จับสารชีวภาพให้ปลอดภัยไม่ติดเชื้อออกไป
    • Gyroscope – ตรวจจับการแกว่งเพื่อผสมของสารต่างๆ
    • Smart Gloves – ใช้ในการจำลองการทดลอง เช่น การผสมสารเคมีอย่างแม่นยำ หรือการควบคุมอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง

    3.การออกแบบโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง สิ่งประดิษฐ์และอุปกรณ์ต่างๆ
    เป็นการจำลองโมเดลของสิ่งปลูกสร้างและสิ่งประดิษฐ์ที่เราออกแบบโดยสามารถจำลองสภาพบรรยากาศ เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจะเกิดขึ้น เพื่อตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานนั้นๆ
    • Hologram – จำลองสภาพบรรยากาศ อุบัติภัยต่างๆว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถทนต่อสถานการณ์แบบนี้ได้มากน้อยเพียงใด และเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขให้สิ่งปลูกสร้างนั้นยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่างๆมากขึ้น
    • 3D Printer – สำหรับการออกแบบ ใช้สร้างโมเดลจำลอง ลดอาการปวดหลังของผู้ใช้งานจากการนั่งตัดโมเดลแบบปกติ สำหรับการสร้างใช้จำลองอุปกรณ์มาประกอบ เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้
    • Smart Glasses – Magic Leap ใช้สำหรับจำลองและแก้ไขโมเดล 3 มิติ เช่น อาคารหรือผลิตภัณฑ์ในโลกเสมือน ช่วยออกแบบและทดสอบสิ่งปลูกสร้างในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมก่อนลงมือสร้าง

    • อุปกรณ์รับและแสดงที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายในปัจจุบัน กลุ่มของเรายกตัวอย่างมาดังนี้

      1. 3D Printer (เครื่องพิมพ์สามมิติ) ในการผลิตอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์ เป็นแนวคิดที่มีการวิจัยและดำเนินการมาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและยังคงพัฒนาอยู่ตลอดในปัจจุบัน เนื่องจากเราสามารถนำ 3D Printer มาประยุกต์สร้างอุปกรณ์ที่พอดีกับสรีระผู้ใช้ เช่น เบ้าขาเทียม เบ้าแขนเทียม และนิ้วเทียม โดยสามารถต้นทุนวัสดุและกระบวนการผลิตได้ดีกว่าวิธีการหล่อปูนเพื่อสร้างแม่แบบและใช้วิธีดั้งเดิมในการขึ้นรูป ช่วยให้คนที่มีงบประมาณจำกัดสามารถเข้าถึงอุปกรณ์เทียมได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นการสร้างอุปกรณ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติยังผลิตได้เร็วกว่าแบบดั้งเดิม ลดข้อจำกัดในการเข้าถึงอุปกรณ์เทียมสำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการผลิต

      2.โฮโลแกรม (Hologram) เป็นเทคโนโลยีที่แสดงผลภาพ 3 มิติในอากาศโดยไม่ต้องใช้จอภาพแบบดั้งเดิม โดยการทำงานเริ่มจากการรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล้องหรือเลเซอร์ เพื่อบันทึกภาพหรือข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาแสดงผลผ่านการเลี้ยวเบนและการแทรกสอดของแสง โดยใช้อุปกรณ์ เช่น โปรเจคเตอร์ เลเซอร์ หรือจอแสดงผลแสง ซึ่งช่วยสร้างภาพลวงตา 3 มิติในอากาศ โฮโลแกรมถูกนำไปใช้ในหลากหลายด้าน เช่น การแพทย์ การศึกษา ความบันเทิง และการโฆษณา เนื่องจากสามารถสร้างประสบการณ์ที่สมจริงและน่าดึงดูดได้

      3. ถุงมืออัจฉริยะ (Smart Glove) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้านด้วยความสามารถในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือ การแปลสัญญาณการเคลื่อนไหวเป็นคำสั่งดิจิทัล และการให้ฟีดแบคผ่านแรงสัมผัส เช่น
      1. การแพทย์และฟื้นฟูสมรรถภาพ
      ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยผู้ป่วยฝึกการเคลื่อนไหวของมือในเกมหรือกิจกรรมเสมือนจริง เพื่อลดการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ การบำบัดทางกายภาพ
      2. การศึกษา (Education)
      การเรียนรู้ภาษามือ ใช้ถุงมืออัจฉริยะช่วยแปลการเคลื่อนไหวของมือเป็นคำพูดหรือข้อความ เพื่อสอนภาษามือแก่ผู้เริ่มต้น
      การสอนดนตรี ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือในการเล่นเครื่องดนตรี
      3.การช่วยเหลือผู้พิการ (Assistive Technology)
      ช่วยเหลือผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ใช้ถุงมือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
      แปลภาษามือ ถุงมืออัจฉริยะสามารถแปลการเคลื่อนไหวของภาษามือเป็นคำพูดหรือข้อความได้ทันที ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้พิการทางการได้ยินและบุคคลทั่วไปง่ายขึ้น
      ถุงมืออัจฉริยะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยประยุกต์การใช้งานในหลากหลายด้าน ขึ้นอยู่กับการออกแบบและซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกัน

  2. กลุ่มที่3
    ในงานวิศวกรรมอุตสาหการ การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้ ได้แก่ Automated Guided Vehicles (AGVs), Collaborative Robots (Cobots) และ Internet of Things (IoT)ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
    1. Automated Guided Vehicles (AGVs)
    AGVs คือยานพาหนะอัตโนมัติที่ใช้ในโรงงานหรือคลังสินค้าเพื่อขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์ อุปกรณ์นี้ช่วยลดต้นทุนแรงงาน เพิ่มความปลอดภัย และลดเวลาในกระบวนการขนย้ายวัสดุ ตัวอย่างเช่น การขนส่งวัตถุดิบในสายการผลิตแบบ Just-in-Time เพื่อปรับปรุงความต่อเนื่องของการผลิต
    2. Collaborative Robots (Cobots)
    Cobots เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ในพื้นที่เดียวกันได้อย่างปลอดภัย เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำหรือทำซ้ำบ่อยครั้ง เช่น การประกอบชิ้นส่วนหรือการตรวจสอบคุณภาพสินค้า Cobots ช่วยลดภาระงานหนักของพนักงาน เพิ่มความแม่นยำ และลดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต
    3. Internet of Things (IoT)
    IoT เป็นระบบที่อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ ตัวอย่างการใช้งานในโรงงาน เช่น เซ็นเซอร์ IoT ติดตามการทำงานของเครื่องจักรเพื่อแจ้งเตือนก่อนเกิดปัญหา หรือใช้วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

  3. Proximity Sensors (เซ็นเซอร์ตรวจจับระยะใกล้)
    ตัวอย่าง: Ultrasonic Sensors, Infrared Sensors
    การใช้งาน : ใช้ในรถยนต์สำหรับระบบการช่วยจอด (Parking Assist)
    การประยุกต์ใช้ในโรงงาน:
    1.ใช้ใน สายการผลิตอัตโนมัติ เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของชิ้นงาน เช่น ตรวจสอบว่าชิ้นงานอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการประกอบหรือการเชื่อม
    2.ใช้ในระบบ คัดแยกสินค้า โดยตรวจจับวัตถุที่ผ่านสายพานลำเลียง
    3.ใช้ป้องกันอุบัติเหตุในเครื่องจักร เช่น หยุดการทำงานเมื่อพบคนหรือสิ่งแปลกปลอมใกล้เครื่องจักร

  4. ปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูลได้ก้าวหน้าไปมากกว่าแค่การใช้ Keyboard และ Mouse โดยมีนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่าง LeapMotion, Microsoft Kinect, Myo และ 3D Printer ที่ช่วยสร้างประสบการณ์และโอกาสการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งในด้านการศึกษา การแพทย์ ความบันเทิง และอีกมากมาย ทั้งนี้ ทางกลุ่มขอเสนออุปกรณ์เพิ่มเติมที่สามารถมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ และเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ รวมถึงความสะดวกสบายได้ในรูปแบบที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ดังนี้
    1. VR Headset (Virtual Reality Headset) คือ อุปกรณ์ที่สร้างประสบการณ์เสมือนจริงผ่านภาพ 3D และเสียงรอบทิศทาง ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นโลกเสมือน (Virtual World) และโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมผ่านเซ็นเซอร์และคอนโทรลเลอร์ การใช้งานครอบคลุมหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา ช่วยจำลองสถานการณ์ 3D เพื่อการเรียนรู้ ด้านการแพทย์ ช่วยฝึกศัลยแพทย์และบำบัดผู้ป่วย
    ด้านอุตสาหกรรม ช่วยฝึกอบรมพนักงานและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์
    ด้านความบันเทิง ช่วยสร้างประสบการณ์สมจริงในเกมและภาพยนตร์
    2. Skin Electronics คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บาง ยืดหยุ่น และติดกับผิวหนังได้โดยไม่รบกวนการเคลื่อนไหวของร่างกาย ใช้ตรวจวัดหรือแสดงข้อมูลทางชีวภาพ และประยุกต์ใช้งานได้หลายด้าน เช่น
    ด้านการแพทย์ ช่วยวัดอัตราการเต้นหัวใจ ออกซิเจนในเลือด หรือระดับน้ำตาลแบบเรียลไทม์
    ด้านกีฬาและฟิตเนส ช่วยติดตามสมรรถภาพร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวหรือการเผาผลาญ
    ด้านการศึกษา ช่วยแสดงข้อมูลชีวภาพในห้องเรียน และ
    ด้านแฟชั่น ช่วยสร้างงานศิลปะดิจิทัลบนผิวหนัง
    3. HoloLens คือ อุปกรณ์ Mixed Reality (MR) ที่พัฒนาโดย Microsoft โดยผสานวัตถุเสมือนเข้ากับสภาพแวดล้อมจริงแบบ 3 มิติผ่านเลนส์โปร่งใส การใช้งานครอบคลุมหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา ช่วยสร้างการเรียนรู้แบบ 3 มิติ เช่น การศึกษากายวิภาค ด้านการแพทย์ ช่วยวางแผนการผ่าตัดด้วยแบบจำลอง 3 มิติ
    ด้านอุตสาหกรรม ช่วยแสดงขั้นตอนการประกอบหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักร
    ด้านการออกแบบ ช่วยสร้างแบบจำลอง 3 มิติของอาคารหรือผลิตภัณฑ์
    4. กล้องดิจิตอล คือ อุปกรณ์ที่สะดวกต่อการใช้งานและให้คุณภาพภาพที่สูง สามารถนำไปใช้ในหลากหลายด้าน เช่น
    ด้านการถ่ายภาพทั่วไป ช่วยบันทึกความทรงจำหรือเหตุการณ์สำคัญ
    ด้านการศึกษา ช่วยบันทึกข้อมูลงานวิจัยและวิเคราะห์ภาพในห้องปฏิบัติการ
    ด้านธุรกิจ ช่วยถ่ายภาพสินค้าและสร้างเนื้อหาออนไลน์
    ด้านอุตสาหกรรม ช่วยตรวจสอบคุณภาพสินค้าและวิเคราะห์งานผ่านภาพถ่าย
    5. Drum Controller คือ อุปกรณ์ควบคุมและสร้างเสียงกลองที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายด้าน เช่น
    ด้านการเรียนการสอนดนตรี ช่วยฝึกจังหวะให้ผู้เรียน
    ด้านการสร้างเพลง ช่วยสร้างจังหวะที่ซับซ้อนร่วมกับซอฟต์แวร์ดนตรี
    ด้านเกมและความบันเทิง ช่วยเพิ่มความสนุกในเกมดนตรี
    ด้านการบำบัด ช่วยฝึกสมาธิและฟื้นฟูกล้ามเนื้อผู้ป่วย
    6. เมาส์ปากกา (Graphics Tablet) คือ อุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมเคอร์เซอร์ด้วยปากกาดิจิทัล เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น
    ด้านการออกแบบกราฟิก ช่วยวาดภาพดิจิทัลในซอฟต์แวร์ต่าง ๆ
    ด้านการสอนออนไลน์ ช่วยขีดเขียนหรืออธิบายเนื้อหา
    ด้านการพัฒนาเกมและแอนิเมชัน ช่วยออกแบบตัวละครและฉากในซอฟต์แวร์ 3D

Leave a Reply